Disney Minnie Mouse

วันอังคารที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2559

กฏหมายลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์


ความเป็นมาของกฎหมายลิขสิทธิ์
         ในประเทศไทยการกำหนดลิขสิทธิ์ได้ปรากฏครั้งแรกราว พ.ศ.2445 ในรัชกาลที่ 5 เพื่อป้องกันการละเมิดลิขสิทธิ์ในงานวรรณกรรม (Literacy) เรื่อง วัชิรญาณวิเศษและได้มีการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายใหม่ในปี พ.ศ.2457 สมัยรัชกาลที่ 6 โดยยังคงเน้นงานด้านวรรณกรรม ต่อมาในปีพ.ศ.2474 สมัยรัชกาลที่ 7 ได้มีการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายฉบับนี้มีความสมบูรณ์ครอบคลุมงานอื่น ๆ อีกเช่น งานคิดค้นทางวิทยาศาสตร์และผลงานของชาวต่างชาติแก่กฎหมายฉบับนี้มีบทลงโทษในสถานเบา ในปีพ.ศ.2521 ได้เพิ่มงานสื่อภาพ เสียง และวีดีโอให้ครอบคลุมของกฎหมาย จากนั้นอีก 15 ปี คือ พ.ศ.2534 รัฐบาลได้ประกาศขยายความครอบคลุมงานด้านวรรณกรรม ที่เกี่ยวข้องกับโปรแกรมคอมพิวเตอร์หรือซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ การนำไปเผยแพร่และการให้เช่า งานด้านสื่อภาพ เสียง (Visual – Sound – Video) พระราชบัญญัติฉบับนี้ถูกใช้มาจนถึงปัจจุบันโดยเริ่มบังคับใช้ในวันที่ 21 มีนาคม 2538 ภายใต้ความรับผิดชอบดูแลของกรมลิขสิทธิ์ทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ (Department of Intellectual Property - DIP)

ลิขสิทธิ์ในซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์
          คอมพิวเตอร์ซอฟต์แวร์ถูกกำหนดนิยามเป็นชุดของคำสั่ง หรือสิ่งอื่นใดที่ใช้งานร่วมกับคอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้หรือได้ผลลัพธ์ใด ๆ ออกมา ซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ถือเป็นงานวรรณกรรม (Literacy) คล้าย ๆ กับหนังสือ บทประพันธ์ บทบรรยาย การละเมิดลิขสิทธิ์จะถูกลงโทษโดยการปรับ 20,000 ถึง 200,000 บาท หากละเมิดกระทำไปเพื่อหวังผลกำไร เป็นการค้า จะปรับ 100,000 ถึง 800,000 บาท หรือจำคุก 6 เดือนถึง 4 ปี หรือทั้งจำทั้งปรับ การป้องกันสิทธิ์จะครอบคลุมตลอดอายุของผู้สร้างสรรค์งานนั้น ๆ บวก 50 ปี การขอลิขสิทธิ์จะต้องจัดเตรียมหนังสือมอบอำนาจทำการแทน (ถ้ามี) แบบฟอร์มคำร้องขอจำนวน 3 ชุด ชุดสิ่งประดิษฐ์ 2 ชุดหรือภาพถ่าย (ในกรณีมิอาจนำสิ่งของ ผลงานมายื่นเสนอได้)

การบังคับใช้พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์จะครอบคลุมถึงคอมพิวเตอร์จากต่างประเทศ
- ผู้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์มีสัญชาติหรือเป็นพลเมืองของประเทศที่เป็นสมาชิกของกลุ่ม ความตกลงกรุงเบริน (Berne Convention for Protection of Literacy and Artistic Works) เช่น USA, UK, JAPAN
- งานนั้นได้จดสิทธิบัตรไว้ในประเทศที่เป็นสมาชิกของ Berne หรือ TRIPs
(องค์กรต่างประเทศที่ประเทศไทยเป็นสมาชิกอยู่ เช่น United Nations – UN, WHO – World Health Organization) เป็นต้น

ข้อยกเว้นเกี่ยวกับลิขสิทธิ์ด้านคอมพิวเตอร์ซอฟต์แวร์
          ผู้ละเมิดจะไม่มีความผิดหาก
                  - มิได้มีเจตนาเพื่อการค้าหรือแสวงหากำไร

                  - มิได้ล่วงล้ำสร้างความเสียหายที่รุนแรงใด ๆ ต่อเจ้าของลิขสิทธิ์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น