Disney Minnie Mouse

วันอังคารที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

ซอฟต์แวร์


ซอฟต์แวร์ คืออะไร ?
ซอฟต์แวร์ (Software) หมายถึง ส่วนที่ทำหน้าที่เป็นคำสั่งที่ใช้ควบคุมการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ หรืออาจเรียกว่า  โปรแกรม  ก็ได้ ซึ่งหมายถึงคำสั่งหรือชุดคำสั่ง สามารถใช้เพื่อสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงาน เราต้องการให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำอะไรก็เขียนเป็นคำสั่งที่จะต้องสั่งเป็นขั้นตอน และแต่ละขั้นตอนต้องทำอย่างละเอียดและครบถ้วนก็จะเรียกว่า นักเขียนโปรแกรม (Programmer) สำหรับการเขียนโปรแกรมดังกล่าวใช้ภาษาที่ใช้ในการเขียนโปรแกรมโดยเฉพาะ หรือหมายถึง ภาษาที่เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจได้ เช่น ภาษาเบสิก ภาษาโคบอล ภาษาปาสคาล เป็นต้น โปรแกรมที่เขียนขึ้นมาก็จะนำไปใช้ในงานเฉพาะอย่าง เช่น โปรแกรมสต็อกสินค้าคงคลัง โปรแกรมคำนวณภาษี โปรแกรมคิดเงินเดือนพนักงาน เป็นต้น

ซอฟต์แวร์และภาษาคอมพิวเตอร์
เมื่อมนุษย์ต้องการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการทำงาน มนุษย์จะต้องบอกขั้นตอนวิธีการให้คอมพิวเตอร์ทราบ การที่บอกสิ่งที่มนุษย์เข้าใจให้คอมพิวเตอร์รับรู้ และทำงานได้อย่างถูกต้อง จำเป็นต้องมีสื่อกลาง ถ้าเปรียบเทียบกับชีวิตประจำวันแล้ว เรามีภาษาที่ใช้ในการติดต่อซึ่งกันและกัน เช่นเดียวกันถ้ามนุษย์ต้องการจะถ่ายทอดความต้องการให้คอมพิวเตอร์รับรู้และปฏิบัติตาม จะต้องมีสื่อกลางสำหรับการติดต่อเพื่อให้คอมพิวเตอร์รับรู้ เราเรียกสื่อกลางนี้ว่าภาษาคอมพิวเตอร์   >>อ่านต่อ<<

ประเภทของซอฟต์แวร์


            ในบรรดาซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่มีผู้พัฒนาขึ้นเพื่อใช้งานกับคอมพิวเตอร์มีมากมาย ซอฟต์แวร์เหล่านี้อาจได้รับการพัฒนาโดยผู้ใช้งานเอง หรือผู้พัฒนาระบบ หรือผู้ผลิตจำหน่าย หากแบ่งแยกชนิดของซอฟต์แวร์ตามสภาพการทำงาน พอแบ่งแยกซอฟต์แวร์ได้เป็นสองประเภท คือ ซอฟต์แวร์ระบบ (system software) และซอฟต์แวร์ประยุกต์ (application software)
                        1.   ซอฟต์แวร์ระบบ คือซอฟต์แวร์ที่บริษัทผู้ผลิตสร้างขึ้นมาเพื่อใช้จัดการกับระบบ หน้าที่การทำงานของซอฟต์แวร์ระบบคือดำเนินงานพื้นฐานต่าง ๆ ของระบบคอมพิวเตอร์ เช่น รับข้อมูลจากแผงแป้นอักขระแล้วแปลความหมายให้คอมพิวเตอร์เข้าใจ นำข้อมูลไปแสดงผลบนจอภาพหรือนำออกไปยังเครื่องพิมพ์ จัดการข้อมูลในระบบแฟ้มข้อมูลบนหน่วยความจำรอง
เมื่อเราเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ ทันทีที่มีการจ่ายกระแสไฟฟ้าให้กับคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์จะทำงานตามโปรแกรมทันที โปรแกรมแรกที่สั่งคอมพิวเตอร์ทำงานนี้เป็นซอฟต์แวร์ระบบ ซอฟต์แวร์ระบบอาจเก็บไว้ในรอม หรือในแผ่นจานแม่เหล็ก หากไม่มีซอฟต์แวร์ระบบ คอมพิวเตอร์จะทำงานไม่ได้
ซอฟต์แวร์ระบบยังใช้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาซอฟต์แวร์อื่น ๆ และยังรวมไปถึงซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการแปลภาษาต่าง ๆ  >>อ่านต่อ<<
                         2.   ซอฟต์แวร์ประยุกต์ เป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้กับงานด้านต่าง ๆ ตามความต้องการของผู้ใช้ ที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้โดยตรง ปัจจุบันมีผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ใช้งานทางด้านต่าง ๆ ออกจำหน่ายมาก การประยุกต์งานคอมพิวเตอร์จึงกว้างขวางและแพร่หลาย เราอาจแบ่งซอฟต์แวร์ประยุกต์ออกเป็นสองกลุ่มคือ ซอฟต์แวร์สำเร็จ และซอฟต์แวร์ที่พัฒนาขึ้นใช้งานเฉพาะ ซอฟต์แวร์สำเร็จในปัจจุบันมีมากมาย เช่น ซอฟต์แวร์ประมวลคำ ซอฟต์แวร์ตารางทำงาน ฯลฯ  >>อ่านต่อ<<

อ้างอิง
https://web.ku.ac.th/schoolnet/snet1/software/software/

http://elearning.northcm.ac.th/it/lesson3-1.asp



วันอังคารที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2559



พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550

ฐานความผิด
โทษจำคุก
โทษปรับ
มาตรา ๕ เข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ ที่มีการป้องกันโดยมิชอบ
ไม่เกิน ๖ เดือน
ไม่เกิน ๑๐,๐๐๐ บาท
มาตรา ๖ ล่วงรู้และเผยแพร่มาตรการป้องกัน
ไม่เกิน ๑ ปี
ไม่เกิน ๒๐,๐๐๐ บาท
มาตรา ๗ เข้าถึงข้อมูลคอมพิวเตอร์ ที่มีการป้องกันโดยมิชอบ
ไม่เกิน ๒ ปี
ไม่เกิน ๔๐,๐๐๐ บาท
มาตรา ๘ การดักข้อมูลคอมพิวเตอร์ ของผู้อื่นโดยมิชอบ
ไม่เกิน ๓ ปี
ไม่เกิน ๖๐,๐๐๐ บาท
มาตรา ๙ การเปลี่ยนแปลงข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นโดยมิชอบ
ไม่เกิน ๕ ปี
ไม่เกิน ๑๐๐,๐๐๐ บาท
มาตรา ๑๐ การรบกวนระบบคอมพิวเตอร์ ของผู้อื่นโดยมิชอบ
ไม่เกิน ๕ ปี
ไม่เกิน ๑๐๐,๐๐๐ บาท
มาตรา ๑๑ ส่งข้อมูล หรือ E-Mail ที่ปกปิดแหล่งที่มา และเป็นการรบกวนผู้อื่น
ไม่เกิน ๕ ปี
ไม่เกิน ๑๐๐,๐๐๐ บาท
มาตรา ๑๒ หากการกระทำ ข้อ ๙ และ ข้อ ๑๐
(๑) ก่อความเสียหายแก่ประชาชน ทั้งทันทีและภายหลัง
(๒) กระทบต่อความมั่นคงปลอดภัยประเทศ/เศรษฐกิจถ้าเป็นเหตุให้เสียชีวิต
ไม่เกิน ๑๐ ปี
๓ ถึง ๑๕ ปี
๑๐ ถึง ๒๐ ปี
ไม่เกิน ๒๐๐,๐๐๐ บาท
๖๐,๐๐๐ ๓๐๐,๐๐๐ บาท ไม่มี
มาตรา ๑๓ การจำหน่าย/เผยแพร่ Software ที่ใช้กระทำผิด
ไม่เกิน ๑ ปี
ไม่เกิน ๒๐,๐๐๐ บาท
มาตรา ๑๔ เผยแพร่เนื้อหาอันไม่เหมาะสม
ไม่เกิน ๕ ปี
ไม่เกิน ๑๐๐,๐๐๐ บาท
มาตรา ๑๕ ISP ที่ยอมให้เผยแพร่ข้อมูลที่ไม่เหมาะสม
ไม่เกิน ๕ ปี
ไม่เกิน ๑๐๐,๐๐๐ บาท
มาตรา ๑๖ การตัดต่อภาพผู้อื่น และทำให้เสียหาย (ถ้าสุจริต หรือไม่เสียหาย ไม่มีความผิด)
ไม่เกิน ๓ ปี
ไม่เกิน ๖๐,๐๐๐ บาท